ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน

เชียงใหม่ | ลำพูน | ลำปาง | แพร่ | น่าน | เชียงราย | พะเยา | แม่ฮ่องสอน |
เลือกวันที่
แผนผังลุ่มน้ำปิง
17 เมษายน 2567 ปริมาณน้ำฝน
สถานี (Station) มิลลิเมตร (mm.)
เฉลี่ย
18 เมษายน 2567 ระดับน้ำและปริมาณน้ำ
สถานี(station) เวลา(time) ระดับน้ำ ม.(ร.ส.ม.) Level-AD. ปริมาณน้ำ ลบ.ม./วิ (cms.)
06:00
06:00



หมายเหตุ :
การเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ จ.เชียงใหม่
การเตือนภัยน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่
แม่น้ำปิงที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่มี ต้นน้ำอยู่ที่ อ.เชียงดาว และแม่น้ำสาขาหลักอยู่ 2 สาย คือ น้ำแม่แตงและ น้ำแม่งัดไหลรวมกันสู่แม่น้ำปิง ข้อมูลอุทกวิทยาที่นำมาใช้วิเคราะห์ในการ เตือนภัยมี 2 กรณี คือ
ปริมาณน้ำ แม่น้ำปิงจาก อ.เชียงดาวและน้ำแม่งัดจากเขื่อน แม่งัด (กรณีน้ำในเขื่อนเต็ม) ไหลรวมกันผ่านสถานีวัดระดับน้ำ P.75 แล้วสมทบกับน้ำ แม่แตงที่มาจาก อ.เวียงแหง และไหลผ่านฝายแม่แตงที่ อ.แม่แตง เมื่อมี ปริมาณน้ำเกินกว่า 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีขึ้นไปไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ จะมีผลทำให้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำปิงบริเวณตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำ เกิดน้ำท่วม ดังนั้นการเตือนภัยจะเริ่ม เมื่อปริมาณน้ำที่ไหลผ่านฝายแม่แตง และสถานีวัดระดับน้ำ P.75 เกินกว่า 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีขึ้นไป ทั้งนี้เพราะอาจ จะมีน้ำแม่ริมและลำน้ำสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่ไหลลงมาสมทบ ด้วย ซึ่งปริมาณน้ำจำนวนนี้ จะใช้เวลาไหลถึงเมืองเชียงใหม่ประมาณ 16 ชั่วโมงถัดมา ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ 16 ชั่วโมง
ระดับน้ำ เราสามารถคาดการณ์ได้จากระดับน้ำ จากสถานีวัดระดับน้ำ P.67 บ้านแม่แต อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถานีวัดระดับน้ำ P.1 ที่สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หากสถานีวัดระดับน้ำที่ P.67 มีระดับสูงเกินกว่า 4.00 เมตร จะทำให้สถานีวัดระดับน้ำ P.1 สูงถึงระดับ 3.70 เมตร (ซึ่งเป็นระดับที่น้ำเต็มตลิ่ง) ในเวลา 6 – 7 ชั่วโมงถัดมา เมื่อระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ P.67 สูงเพิ่มขึ้นจาก 4.00 เมตร ก็จะทำให้ระดับน้ำที่สถานี วัดระดับน้ำ P.1 สูงขึ้นตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณที่อยู่ทางท้ายน้ำของสะพานนวรัฐท่วมเป็น บริเวณกว้างขึ้นตามลำดับ ข้อสังเกต เมื่อระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ P.67 ขึ้นสูงสุดแล้ว ถัดมาอีก 6 –7 ชั่วโมงจะเกิดน้ำ สูงสุดที่สถานีวัดระดับน้ำ P.1 ทำให้เราสามารถระบุพื้นที่น้ำท่วมพอสังเขปได้และสามารถเตือนภัยในพื้นที่ ดังกล่าวได้ใกล้เคียงยิ่งขึ้น
สภาพน้ำฝนน้ำท่า ลุ่มน้ำแม่วาง
17 เมษายน 2567
ปริมาณน้ำฝน
สถานี ปริมาณฝน (ม.ม.)
เฉลี่ย
18 เมษายน 2567
ระดับน้ำและปริมาณน้ำ
สถานี เวลา ระดับน้ำ ม.(ร.ส.ม.) ปริมาณน้ำ ลบ.ม./วิ

การเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแม่วาง จ.เชียงใหม่ การเตือนภัยน้ำท่วม อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ลุ่มน้ำแม่วาง ซึ่งอยู่ในเขต ต.แม่วิน ต.บ้านกาด และ ต.ทุ่งปี้ ของ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ติดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ พื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดมีประมาณ 503.135 ตร.กม. ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 50 กม.
การเตือนภัยน้ำท่วม อ.แม่วาง ใช้ข้อมูลจาก สถานีวัดระดับน้ำแม่วาง P.82 บ้านสบวิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ทางเหนือ อ.แม่วางประมาณ 17.7 กม.ตามลำน้ำ กับสถานีวัดระดับน้ำ P.84 บ้านพันตน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
กำหนดการเตือนภัย
โดยนำข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำ P.82 กับ สถานีวัดระดับน้ำ P.84 มาหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำในช่วงน้ำสูงสุดจากข้อมูลที่เคยปรากฎในอดีต มาประกอบในการวิเคราะห์ ซึ่งพอสรุปเป็นแนวทาง ดังต่อไปนี้
เมื่อระดับน้ำ ที่สถานีวัดระดับน้ำ P.82 บ้านสบวิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มีระดับสูงเกินกว่า 3.80 ม.และมีปริมาณน้ำไหลผ่านเกินกว่า 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในอีก 6 ชั่วโมงถัดมาระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ P.84 ก็จะสูงถึงระดับ 4.00 ม. เช่นกัน ซึ่งเป็นระดับที่น้ำเต็มตลิ่ง และเริ่มไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มได้